จำหน่ายและติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV FUJIKO KENPRO SAMSUNG PELCO PANASONIC LG MESSOA WATASHI บริการดูหน้างานประเมินราคาฟรีถึงที่ สอบถามรายละเอียดได้ที่ เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170

 
โทร. 02-888-3507-8,  081-700-4715

Fax กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera แฟ็กซ์. 02-888-3199   E-mail กล้องวงจรปิด cctv dvr ip camera E-mail : Krittiwit@gmail.com

กล้องวงจรปิด cctv facebook icon
promotion kenpro

 

การรับส่งไฟล์ และ ระบบไฟล์

ปัจจุบันบราวเซอร์ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่แสดงข้อมูลของเว็บเพจเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ มาใช้งานได้อีกด้วย โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ โดยเฉพาะยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพสูง

การรับส่งไฟล์    และ   ระบบไฟล์

 

โปรโตคอลที่ใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ที่น่าสนใจ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ตะพื้นฐานทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย FTP (File Transfer Protocol) และ TFTP (Trivial File Transfer Protocol) ส่วนที่สองระบบไฟล์ที่มีพื้นฐานการใช้งานมาจากระบบ LAN ซึ่งมีความสามารถเพิ่มมากกว่าโปรโตคอล FTP ที่ทำได้เพียงโอนย้ายไฟล์มาเท่านั้น โดยประกอบด้วย WebNFS ที่พัฒนามาจากเทคโนโลยีของ NFS ทำให้สามารถเปิดใช้ไฟล์ข้ามเน็ตเวิร์กได้โดยไม่จำเป็นต้องโอนไฟล์มาก่อน และโปรโตคอลที่รองรับการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น คือ CIFS (Common Internet File System) ซึ่งมีความสามารถในการแชร์ไฟล์ และล็อคข้อมูลข้ามเน็ตเวิร์กได้ ซึ่งช่วยให้การพัฒนาโปรแกรมภายใต้เน็ตเวิร์กสะดวกมากขึ้น

FTP (File Transfer Protocol)

เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด และแพร่หลายอยู่ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Windows95, Windows 98 หรือแม้แต่ Windows NT ก็ตาม ซึ่งคุณสมบัติของ FTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์ (download) หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ (upload) ได้ แต่ในการใช้งานแบบอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียเป็นส่วนใหญ่

การรับส่งไฟล์    และ   ระบบไฟล์

วิธีการทำงานของ FTP

ทำงานในแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP1 ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร ก่อนทำการสื่อสารจริง ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP1 ปลายทางและต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ password ของเซิร์ฟเวอร์ จึงจะเข้าใช้งานได้

ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ

- ข้อมูล (data) ข้อมูลที่ต้องการรับส่ง รวมทั้งไฟล์ที่รับมาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งมาจากไคลเอนต์แล้วไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ก็ได้ - ข้อมูลที่เป็นคำสั่ง (command) คำสั่งที่ใช้สั่งงานต่าง ๆ เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือใช้โหลดไฟล์มายังเครื่องไคลเอนต์ โดยผู้ใช้จะสั่งงานที่ไคลเอนต์ผ่านโปรแกรม FTP แล้วโปรแกรมจะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน ซึ่งผลการทำงานนี้จะนำหน้าด้วยเลข 3 หลัก เป็นรหัสที่ใช้แสดงสถานการณ์ทำงานภายในของ FTP และต่อด้วยข้อความที่เป็นเท็กซ์ต่อท้ายไป ซึ่งก็คือผลของการทำงานหรือคำอธิบายต่าง ๆ

ประเภทข้อมูล (Data Type)

คุณสมบัติที่สำคัญ FTP คือความสามารถในการแปลงประเภทของข้อมูลให้ถูกต้องตามความเหมาะสม มีประโยชน์เมื่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์เป็นคอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบกัน ซึ่ง FTP ก็จะแปลงข้อมูลให้ถูกต้องตามความเหมาะสมได้โดยที่ FTP จะมีคำสั่ง TYPE เพื่อกำหนดประเภทของข้อมูล

 

โครงสร้างไฟล์ (File Structure)

FTP สามารถกำหนดโครงสร้างของไฟล์ได้หลายแบบ เพื่อรองรับการใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดที่ต่างกัน โดยการแยกเป็นประเภทได้ ดังนี้ File เป็นโครงสร้างไฟล์ที่รับส่งในลักษณะเป็นไบต์เรียงต่อกัน Record เป็นโครงสร้างไฟล์ที่ข้อมูลจะเป็นชุดของเรคอร์ด โดยเป็นไฟล์ที่มีความยาวเรคอร์ดคงที่ Page เป็นการโอนข้อมูลที่เป็นชุดของบล็อกข้อมูล ซึ่งโครงสร้างข้อมูลประเภทนี้จะใช้กับไฟล์ที่ใช้งาน

 

แบบกลุ่ม (Random Access)

Anonymous FTP จะทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ ไม่ว่าเป็นข้อมูล รูปภาพ หรือโปรแกรม ซึ่งเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นจะมีรหัสผู้ใช้กลางที่ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้าระบบใช้งานเซิร์ฟเวอร์ FTP ได้ทุกคน ในการเข้าสู่ระบบส่วนใหญ่จะตั้งให้ anonymous ผู้ใช้เพียงแต่ทราบชื่อเซิร์ฟเวอร์ ชื่อไฟล์ ชื่อไดเร็คทอรี ที่ต้องการแล้วเข้าระบบด้วยชื่อ anonymous ก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการได้ รหัสผู้ใช้เป็นชื่อสำหรับที่อาจจะมีการจำกัดสิทธิ์ในการใช้งานต่าง ๆ

TFTP การรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป ใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP (User Datagram Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้น จะไม่มีฟังก์ชันอื่น ๆ การทำงานของ TFTP จะกำหนดขนาดของบล็อกข้อมูลที่โอนย้ายไว้ 512 ไบต์คงที่ และมีขนาดของการรับส่งข้อมูลที่โต้ตอบเป็น 512 ไบต์เช่นกัน การทำงานจะไม่ซับซ้อนยุ่งยาก โปรแกรมที่ใช้งานจะมีขนาดเล็ก ใช้เนื้อที่หน่วยความจำน้อย สามารถบรรจุโปรแกรมลงในชิพ เพื่อนำไปใช้งานในเครื่องที่ใช้พกพาหรือเครื่องขนาดเล็กได้ง่ายกว่าการใช้โปรแกรม FTP

ระบบเสริมอื่น ๆ ในการเรียกใช้ข้อมูลข้ามเครื่อง

การรับส่งไฟล์ด้วยโปรแกรมที่ใช้โปรโตคอล FTP มักจะประสบปัญหาในกรณีที่เป็นไฟล์ขนาดใหญ่ ๆ และต้องหยุดการรับส่งกลางคัน ถึงแม้ในปัจจุบันระบบสื่อสารและโมเด็มมีความเร็วสูงมากขึ้นก็ตาม จึงมีซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้รับข้อมูลส่วนที่ต่อจากข้อมูลเดิมที่ยังไม่ครบถ้วนได้ และอีกปัญหาหนึ่งในการทำงานกับอินเตอร์เน็ตก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเรียกใช้ข้อมูลข้ามเครื่องเท่าที่จำเป็นโดยตรง ซึ่งการพัฒนาในด้านนี้จะไปอยู่ที่โปรโตคอลใหม่ ๆ สำหรับแชร์ไฟล์ข้ามเครื่องในลักษณะต่าง ๆ

GetRight เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ เมื่อติดตั้งโปรแกรม GetRight เรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นอีกโปรแกรมหนึ่งแฝงตัวอยู่ใน Startup และเมื่อบราวเซอร์มีการใช้โปรโตคอล FTP เพื่อรับส่งข้อมูล โปรแกรม GetRight ก็จะถูกเรียกขึ้นมาทำงานโดยอัตโนมัติ จะมาแทนที่ไดอะล็อกบ็อกซ์ปกติของบราวเซอร์

การรับส่งไฟล์    และ   ระบบไฟล์

โดยบันทึกชื่อที่ดาวน์โหลดไฟล์และชื่อไฟล์นั้น ๆ ไว้ หากมีปัญหาเกิดขึ้นและทำให้การดาวน์โหลดต้องหยุดไปกลางคัน เมื่อติดต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใหม่ GetRight ก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่าไฟล์ที่ดาวน์โหลดค้างอยู่เป็นไฟล์ใด และจะดาวน์โหลดไฟล์เฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์ได้

การทำงานของ GetRight จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้มาก โปรแกรมก็จะติดต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตให้ใหม่โดยอัตโนมัติ หลังจากที่เกิดขัดข้องในนการดาวน์โหลดครั้งก่อนหน้านี้ รวมทั้งสามารถกำหนดได้ว่า จะให้วางสายหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติเมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องคอยเฝ้าอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งสามารถลดความเร็วในการดาวน์โหลดได้ การใช้งาน GetRight จะใช้ร่วมกับการดาวน์โหลดผ่านบราวเซอร์เท่านั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมที่ใช้งานโปรโตคอล FTP อื่น ๆ ได้ ดังนั้นในการใช้งานจึงอาจจะไม่สามารถใช้ฟังก์ชันนี้กับ FTP บางเซิร์ฟเวอร์ได้ สังเกตได้จากไดอะล็อกบ็อกซ์ของ GetRight ในขณะดาวน์โหลด ซึ่งจะมีข้อความว่า “This server does not support resuming”

WebNFS สามารถใช้งานได้กับระบบไฟล์แบบ NFS ตั้งแต่เวอร์ชัน 1 ถึง 3 แต่ในเวอร์ชัน 3 ได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้กลไกของ TCP การทำงานของ WebNFS ที่เซิร์ฟเวอร์นั้นจะใช้พอร์ตหมายเลข 2049 ซึ่งการใช้งาน NFS จะต้องทำงานผ่านกลไกของ RPC เป็นผลให้ภาระในการทำงานสูง แต่จุดเด่นของ WebNFS ก็คือการโอนย้ายข้อมูล ซึ่งจะมีกลไกที่สามารถตรวจสอบและรับส่งไฟล์ต่อจากที่เคยส่งมาแล้วแต่ ไม่สำเร็จได้ด้วย ซึ่งต่างจากเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น FTP หรือHTTP ซึ่งรองรับงานลักษณะนี้ไม่ได้ นอกจากนี้ WebNFS ได้ถูกออกแบบมาในเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ ทำให้สามารถรองรับการขยายตัวได้มากกว่าในระบบอื่น ๆ

CIFS เป็นโปรโตคอลที่พัฒนามาจากพื้นฐานของโปรโตคอล SMB ซึ่งใช้กันเป็นมาตรฐานอยู่ในระบบปฏิบัติการตระกูล Windows ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Windows 95/98 หรือ Windows NT โดย CIFS จะยอมให้คอมพิวเตอร์อื่นที่ต่อผ่านเน็ตเวิร์คเข้ามาสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ของ CIFS ผ่านเครือข่ายอินเตอ์เน็ตได้

 

 

line

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok

 


FUJIKO CCTV


KENPRO CCTV

PANASONIC CCTV


HIKVISION CCTV

บริษัท มีเดีย เสิร์ซ จำกัด เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. 10170
Tel. 02-888-3507-8 Fax. 02-888-3199 E-mail: krittiwit@gmail.com
www.MediaSearch.co.th | www.CctvBangkok.com